วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

วันที่ 8 ส.ค 56
ฟังการรายงานข่าวจากนางสาว พลอยไพลิน เรื่องโค๊กกระป๋องเป็นลักษณะบรรจุภัณฑ์ตัวอย่างที่ยังไม่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย ผลิตเพื่อการทดสอบคุณภาพในลักษณะสามารถวางทับกันได้ในชั้นเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการถือ บวกแนวคิดที่ประหยัดในการใส่ถุง
สอน และแนะนำวิธีการสมัคร http://www.surveycan.com/
วิธีการสร้างแบบสอบถามขั้นตอนการนำเสนอแนวทางต่างๆ ดังต่อไปนี้
เข้าสมัครในระบบ เข้าไปศึกษาการทำงานของเว็บนี้ ตั้งคำถามเลือกหาข้อมูลที่ต้องการถาม
งานกลุ่มสัปดาห์ต่อไปต้องเสรี็จภายใน
วันที่ 28 ส.ค 56
แบ่งงานดังนี้
- ทำmoodboard ส2 - ส3 ร่วมกันด้วยการทำผลงานของคนในกลุ่มมาแชร์กัน
แล้วนำมาสรุปแบบใน ส3
- ทำรายงานในgoogle drive แล้วแชร์ในกลุ่ม
- ทำบรรจุภัณฑ์จริงโดยแนวคิดของตัวเองแต่เลือกใช้ตราสัญลักษณ์เหมือนกัน
ต่างที่ลวดลาย รูปทรง

- ทำแบบสอบถามประเมินงาน

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สอบปฎิบัติกลางภาคเรียน แนวทางนำเสนอการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่

แบบสเก็ตบรรจุภัณฑ์ร้านขนมโตเกียวหลัง ม
การพัฒนาแบบบรรจุภัณฑ์ได้ออกแบบมา 2 ลักษณะ
แบบที่1 ใส่ได้ 3 ชิ้น ที่ขายอยู่ในราคา 10 บาท รูปทรงสี่เหลี่ยมจัสตุรัส ด้านกว้าง 10x10 ซม. เท่ากันมีฝาปิดด้านด้านบนเป็นลักษณะสอดใส่ ด้านข้างก็เช่นกัน
แบบที่2 ใส่ได้ 7 ชิ้น ที่ขายอยู่ในราคา 20บาท รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แตกต่างกันที่ด้านที่ยาวกว่า
แปลนรูปด้าน:แปลนบรรจุภัณฑ์กล่องเล็กมีความกว้าง10x10ซม.ลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมจัสตุรัส
แปลนบรรจุภัณฑ์กล่องใหญ่มีความกว้าง10x15 ซม.ส่วนอีกด้านของฝาปิดมีความกว้าง10x12.5 ซม. ด้านข้างเป็นลักษณะสอด

แนวคิด: รูปแบบเดิมลักษณะเป็นถาดสี่เหลี่ยมไม่มีฝาปิด แบบใหม่จึงทำฝาปิดครอบด้านบน ด้านข้างเป็นลักษณะสอดเข้าหากันโดยที่ไม่ต้องใช้กาว ลวดลายเพิ่มความน่ารัก สดใสเข้าไปโดยใส่หน้าการตูนญี่ปุ่นเน้นสีสันสดใส สีที่เลือกใช้เป็นสีโทนสว่าง สบายตาใส่เฉพาะด้านบนและด้านข้าง ฝากล่องใส่โลโก้ร้านด้านขวาเพื่อให้เหมือนหน้าคนกำลังใส่หมวก
              



                                                         

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 7 วันที่ 25 ก.ค 56

- ตรวจงานโครงการออกแบบเพื่อชุมชน 30 - 31 ก.ค 56 ตรวจ blogกลุ่ม
- สอบออนไลท์ วันที่ 8 ส.ค 56 18:30 น.ใช้เวลา 15 นาที พร้อมปฎิบัติ
แยกไฟล์ของแต่ละคน blogกลุ่มให้ฟิดลิ้งค์เข้า gadjad
สอบปฏิบัติกลางภาคเรียน การนำเสนอแนวทางการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่
ในการนำเสนอการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่นั้นมีการกำหนดคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ (Product Design Specification) โดยอาศัยข้อมูลจาก แหล่งข้อมูลต่างๆมาประกอบเช่น
1.1 ภาพรวมความต้องการของลูกค้า(Identify Customer needs)
1.2 ข้อมูลสรุปจากตัวชี้วัดและดัชนีการผลิต (Conduct Bench Marking)
1.3 การประเมินผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันทางการค้า(Evaluate Competitor’s Product)
1.4 การตั้งวัตถุประสงค์และเกณฑ์การออกแบบผลิตภัณฑ์(Establish and Approve Product Design Specifications):PDS ดังตัวอย่างเช่น ต้องรู้จักรายละเอียดของส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกับงานที่จะออกแบบที่จะผลิตได้จริงหรือมีต้องมีความรู้กับสิ่งที่ต้องออกแบบ จากนั้นจึงทำการร่างแบบ วาดแบบ เขียนแบบ บอกแนวคิดที่จะสร้างสรรค์สร้างเอกสารทั้งที่เป็นภาพและข้อความประกอบความเข้าใจให้ผู้ร่วมงานได้ศึกษา ให้เข้าใจแนวคิด วิธีคิด การวิเคราะห์ สังเคราะห์ โดยสื่อสารออกมาให้ได้มากที่สุด มีคุณภาพดีที่สุด และนักออกแบบยังต้องแสดงออกซึ่งทักษะทางฝีมือ ทักษะการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือที่ตนเองถนัดที่สุดและทำได้ดีที่สุด เป็นต้น ซึ่งผลงานที่ได้ออกมาในขั้นตอนนี้ก็ได้แก่ Sketch Design Concept /Concept Render โดยอาจนำเสนอเป็นแผ่นภาพ แสดงแนวความคิดสร้างสรรค์ (Creative Ideas Moodboard) หรือตามที่อาจารย์สั่งให้ทำเป็นมู๊ดบอร์ดและจัดเก็บได้เป็นแบบดิจิตัล จัดเก็บได้ในระบบคอมพิวเตอร์ หรือเครื่อข่ายอินเตอร์เนตนั่นเอง
จากเนื้อหาตัวอย่างที่ให้ศึกษานี้ อาจารย์มีการบ้านเป็นงานสอบกลางภาคเรียนแบบ Takehome คือ ให้นักศึกษาแต่ละคนทุกกลุ่มเรียนจัดทำ Moodboard ขนาด 50x70cm 1 แผ่น โดยให้นำเสนอแนวคิดและแนวทางการออกแบบเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่ ในแนวทางที่แตกต่างกัน ให่แก่สินค้าหรือการบริการของผู้ประกอบการชุมชน ตามกลุ่มที่ได้นำเสนอการศึกษาข้อมูลขั้น ส.1 ไปแล้ว โดย กำหนดให้ส่งคือ กลุ่ม 201 ส่งภายในเวลา 19.00 น.

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 6 วันที่ 18 ก.ค 56


โลโก้กลุ่มที่แก้ไขแล้ว แนวคิด: คำว่าโปรเจคคือโครงการที่ทำอยู่ความหมายโดยรวมคือการทำโครงการ 1 โครงการ โดยแนวคิดการออกแบบนำป้ายติดราคาสินค้ามาห้อยไว้แล้วใส่เลข 1 กำกับเข้าไปห้อยไว้กับหูกระเป๋าหรือหูหิ้วไม่เน้นสีมากมาย สีดำจะทำให้ตัวหนังสือเด่นขึ้น
ฟังสรุปข่าวจาก นางสาวกวินลักษณ์ เรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์รองเท้าที่ทำจากกระดาษ ด้ามจับเป็นหูหิ้วทำจากผ้า พกพาสะดวก เป็นลักษณะกล่องสี่เหลี่ยมแกะออกมาจะมีอุปกรณ์ขัดรองเท้า สิ่งที่ช่วยให้รองเท้าดูดีขึ้น สามารถนำไปแขวนได้ทั้งประตูและกำแพงฟังสรุปข่าวจากนายวาที ศรีเผือก เรื่องการนำกราฟิกแทรกเข้าไปในบรรจุภัณฑ์ในลักษณะการ์ตูนที่จดลิขสิทธิ์ เช่น หมีพลู ดัดแปลงท่าทางต่างๆ เคลื่อนไหวไปมาเป็นลักษณะ 3 มิติ

*อธิบายความคืบหน้ากลุ่ม Project 1
สิ่งที่อาจาร์ยชี้แนะ: เรื่องการทำบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวกับอาหารนั้นหลักสำคัญต้องคำนึงถึงสุขอนามัย ความสะอาด ความสะดวก สุดท้ายคือการออกแบบให้บรรจุภัณฑ์น่าสนใจช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้ ตัวอย่างเช่น รูปแบบเป็นลักษณะทรงสี่เหลี่ยมสีขาวมีฝาปิดด้านบน
*ฟังคำอธิบายกลุ่มอื่น ตัวอย่างการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใส่ขนมปังที่ใส่ห่อพลาสติกนั้นสามารถเพิ่มมูลค่าการขายได้มากขึ้น ยกตัวอย่างสินค้าที่ขายได้มากที่สุดสามารถทำให้ทุกสินค้าขายได้ในลำดับที่เท่ากันสัปดาห์หน้าเตรียมทำ ส. 2 คือการสร้างสมมุติฐานการร่างแบบ ต้องมีความแตกต่าง

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 5 วันที่ 11 ก.ค 56

ฟังคำอธิบายความคืบหน้า ส.1 ตั้งแต่กลุ่ม 7-1
สรุปได้ว่าการออกแบบบรรจุภัณฑ์
- ต้องหาความน่าสนใจ
- สีสันที่สะดุดตา
- โลโก้มีความเป็นเอกลักษณ์อย่างไร ต่างจากคู่แข่งอย่างไร
- ตัวบรรจุภัณฑ์เหมาะสมกับราคาสินค้าหรือไม่
- วางจำหน่ายสินค้าแบบไหน วางสิ่งใดก่อน
ความคืบหน้ากลุ่ม1 Project 1 การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับบรรจุภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก เป็นถาดกระดาษทั่วไปส่วนที่วัดขนาดเป็นลักษณะกางออกมีขนาดความกว้าง 15 ซม.
ขนาดความสูง 11 ซม. หมายเลข 1 : ขนาดความสูง 11 ซม. มีรูปแบบการดีไซน์เป็นลักษณะรอยหยัก หรือลูกคลื่น ทำให้ดูไม่เรียบมากเกินไป แต่ก็ยังไม่มีความโดดเด่นมากเท่าไหร่ หมายเลข 2 : ขนาดความกว้าง 15 ซม. หมายเลข 3 : เป็นลักษณะขีดเส้นตรง ที่มีรอยกรีดเป็นช่องขนาด 2 ซม. อยู่ด้านมุมของความสูงทั้ง 2 ด้าน มี 4 ช่อง ล่าง และบนของแนวความสูง เพื่อสามารถนำมุมของความกว้าง มาเสียบใส่ช่องรอยตัดของด้านมุมความสูงให้มีความพอดีเข้าด้วยกัน หมายเลข 4 : เป็นรอยพับมุมขนาดความกว้าง 2.5 ซม. อยู่ด้านมุมความกว้างทั้ง 2 ด้าน มี 4 มุม เพื่อนำไปเสียบใส่รอยกรีดให้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์ใช้งานได้จริง
ส่วนที่วัดขนาดเป็นลักษณะแบบบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์เป็นทรงสี่เหลี่ยมจัสตุรัสด้านทั้ง 4 ด้านเท่ากัน มีขนาดฐานความกว้าง 9 ซม. ขนาดความสูง 9 ซม. หมายเลข 1 : ฐานด้านล่างมีขนาดความกว้าง 9 ซม. หมายเลข 2 : มีขนาดความสูง 9 ซม.
หมายเลย 3 : มีความสูง 3 ซม. เป็นรอยพับตั้งฉากกับอีกมุม 
บรรจุภัณฑ์ขนาดกลางส่วนที่วัดขนาดเป็นลักษณะกางออกมีขนาดความกว้าง 18.8 ซม. ขนาดความสูง 11.5 ซม. หมายเลข1 : ขนาดความกว้าง 18.8 ซม. มีรอยพับมุม 2 ด้าน 4 มุม
หมายเลข 2 : ขนาดความสูง 11.5 ซม.

ส่วนที่วัดขนาดเป็นฐานบรรจุภัณฑ์เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดฐานความกว้าง 14.5 ซม. ขนาดความสูง 10 ซม. หมายเลข 1 : ฐานมีขนาดความกว้าง 14.5 ซม. หมายเลข 2 : ขนาดความสูง 10 ซม. หมายเลข 3 : มุมรอยพับมีขนาดความสูง 3 ซม.    

อ้างอิง: นางสาวภัชธีญาพันธุ์ประดิษฐ์

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 4 วันที่ 4 ก.ค 56

กลุ่มที่1
เสนอโครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ร้านโตเกียวหลัง ม.
จากการทำส.1 สืบค้นข้อมูล ได้รายเอียดดังนี้
ชื่อผู้ประกอบการ นายวิษณุ ชัยบันดาล อายุ 33 ปี เปิดร้านมาได้เดือนกว่า ขายขนมโตเกียวทั้งหมด 3 แบบ มีไส้ครีม ไข่นกกระทา ไส้กรอก 2 ราคา 3 ชิ้น 10บาท 7 ชิ้น 20 บาท
ภาชนะเป็นทรงสี่เหลี่ยมทำด้วยกระดาษสีขาว ไม่มีลวดลาย หรือโลโก้บนตัวบรรจุภัณฑ์
ภาพตัวอย่าง

ฟังคำบรรยายรายงานกลุ่มที่ 1-9 งานที่ได้ไปทำส.1 สืบค้นข้อมูลบรรจุภัณฑ์ตัวอย่าง บริเวณรอบซอยเสือใหญ่ อธิบายการวิเคาะห์ข้อมูลเบื้องต้น รายละเอียดของร้านที่จะนำเสนอที่มา และข้อบ่งพร่องหรือความต้องการที่ทางร้านต้องการให้เราพัฒนาแบบไหน อย่างไร ให้เหมาะสมกับสถานที่ ตัวสินค้า
ตัวอย่างกลุ่มที่6
โครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ร้านขนมจีบบางน้ำโพ ซ.เสือใหญ่ ร้านนี้มีทั้งที่มา และสูตรน้ำจิ้มดั่งเดิมมาก่อน เขาขายมานานแล้ว แล้วพึ่งย้ายมาเปิดอีกที่หนึ่ง แต่ยังใช้ถุงพลาสติกแบบดั่งเดิม ธรรมดาอยู่ เขายังต้องการบรรจุภัณฑืที่สามารถหยิบ รับประทานนได้ง่าย ไม่เลอะหก ง่าย
ดังนั้นความสำคัญของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวกับอาหาร จำเป็นต้องคำนึงถึงความสะดวก ป้องกันอาหารสัมผัสกับบรรจุภัณฑ์

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

นามบัตร



ด้านหน้า:ส่วนประกอบหลักจะเป็นตราสัญลักษณ์ของมหาลัยเพื่อบ่งบอกสถานที่ศึกษา ตามด้วยชื่อตัวเอง รหัสนักศึกษา สาขาวิชา และเบอร์โทรศัพท์ที่สมารถติดต่อได้สะดวก ฟ้อนต์ที่ใช้เน้นการเพิ่มสีพื้นหลังซ้อนทับอีกให้ดูชัด และเด่นขึ้นมา พื้นหลังเน้นสีสว่าง ไม่มืด ทึบ เกินไปแทรกภาพกราฟิกเข้าไปสื่อความหมายถึงสาขาวิชาที่เรียน




ด้านหลัง:ส่วนประกอบมีชื่อมหาลัยที่ศึกษา อีเมล์ และชื่อวิชาเรียน ฟ้อนต์ใช้เหมือนกันกับด้านหน้าเพื่อให้ดูไม่แตกต่างมากไป สีพื้นหลังใช้สีเทา เรียบๆแต่จะเพิ่มความเด่นที่สีฟ้อนต์ แทรกภาพประกอบที่สื่อความหมายของวิชาได้ชัดเจน

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 3 วันที่ 27 มิ.ย 56

ฟังการอ่านข่าวจากนายกำพล ตันแดง หัวข้อการออกแบบบบรรจุภัณฑ์จากไข่
เป็นจุดเริ่มต้นในการออกแบบกล่องที่มีความยืดหยุ่นให้พอดีกับขนาดของไข่ที่แตกต่างกันจึงเริ่มมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เห็นว่ามีความบกพร่อง ด้วยขนาด และการขนส่ง โดยทำการศึกษาวิธีการให้สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ป้องกันของเสียหาย แตก พัง วิธีการทำโดยการตัดกระดาษจำนวน12 ช่อง ให้มีความพอดี และกระดาษที่ใช้ยังมีความแข็งแรง ทน สามารถนำมารีไซเคิ้ลใช้ได้ใหม่อีก
อธิบายการใช้โปรแกรม Box Gen 2.0
วิธีการสร้าง package design ตามรอยพับ ตามรูปแบบที่ได้ออกแบบไว้ สามารถกำหนดความหนา สี เส้นได้ความต้องการ มีหลายคำสั่ง เวลาทำงานออกแบบกล่องเราต้องศึกษาขนาด สัดส่วน ความสูง ด้านข้าง หรือแถบลิ้นทากาวให้มีความถูกต้อง

การsave ตั้งชื่อเสร็จแล้วทุกครั้งต้องตามด้วย ai สามารถนำมาปรับแต่งแก้ไขได้ในโปรแกรมAdobe illustrator เส้นที่ทำควรมีstroke 0.08 ให้ลักษณะเส้นที่คม และต้องแยกLayerไว้ทุกครั้ง

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แหล่งเรียนรู้-ศึกษาและร่วมแบ่งปันCRAYON PACKAGING(บรรจุภัณฑ์ดินสอสี)

CRAYON PACKAGING
NEW CONCEPT OF CRAYON PACKAGING DESIGN   [Silk Screened]
Crayons are generally considered to be used by children, but there are also other potential users, which means crayons are no longer the preserve of particular users, children. Therefore, I tried to put a new concept of usability and beauty of crayon box which can satisfy all users with this packaging design.
The concept is derived from no existed borders among users. By choosing orange as a dominant color, it still seems lively although it becomes more simple and sophisticated to be able to target all people as potential users. Also, in order to protect its contents as a case, and help users use it more practical, you can make it fold in 2 different directions for standing crayons against triangular frame on the desk or rolling up to close it.The basic concept of this can be applied in different purpose such as a pencil case.
บรรจุภัณฑ์ดินสอสี
แนวคิดใหม่ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ดินสอสี [คัดกรองผ้าไหม]
ดินสอสีทั่วไปมักจะคิดว่าส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่ใช้ แต่ก็ยังมีผู้ที่คิด ส้างสรรค์ผลงานที่ให้มีขอบเขตเดียวกันหมายความว่าดินสอสีสามารถใช้งานร่วมกันได้ทั้งผู้ใหญ่ เด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ๆ ดังนั้นผมจึงพยายามที่จะนำแนวคิดใหม่ของการใช้งานและความสวยงามของกล่องดินสอสีที่สามารถตอบสนองผู้ใช้ทั้งหมดที่มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์นี้
แนวคิดที่ได้มาจากพรมแดนไม่มีตัวตนในหมู่ผู้ใช้ โดยการเลือกสีส้มเป็นสีที่โดดเด่นของมันก็ยังดูเหมือนมีชีวิตชีวาแม้ว่ามันจะเป็นสีที่ดูเรียบง่ายแต่มีความซับซ้อนเพื่อให้สามารถกำหนดเป้าหมายทุกคนให้สะดวกต่อการใช้งาน นอกจากนี้เพื่อที่จะปกป้องเนื้อหาของมันเป็นกรณีและช่วยให้ผู้ใช้ใช้งานได้ในทางปฏิบัติมากขึ้นคุณสามารถทำให้มันเท่าใน 2 ทิศทางที่แตกต่างกันสำหรับการยืนอยู่กับดินสอสีกรอบสามเหลี่ยมบนโต๊ะทำงานหรือกลิ้งขึ้นไปปิดมัน
แนวคิดพื้นฐานของการนี้สามารถนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันเช่นกรณีดินสอ
อ้างอิงจาก:http://www.behance.net/gallery/CRAYON-PACKAGING/7470235

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การศึกษาบรรจุภัณท์ ยาจุดกันยุง ไบกอน

ตัวอย่างการศึกษาบรรจุภัณฑ์                  
1.ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสินค้า
ชื่อสินค้า:ยาจุดกันยุงไบกอน
ประเภท:ยาจุดกันยุง กลิ่นดอกลาเวนเดอร์
สถานะ:เป็นขด ใช้จุดไฟ
วัสดุหลัก:กระดาษ
สีกล่อง:น้ำเงิน - ม่วง
ขนาดกล่อง:11.9 x 11.9 x 12 เซ็นติเมต
ผู้ผลิต:พีที. อินทิ คิมิอะทะมะ เพอคาซา
PT. INTI KIMIATAMA PERKASA, ประเทศอินโดนีเซีย
นำเข้าและจำหน่ายโดย:บริษัท เอส.ซี.ยอห์นสัน แอนด์ ซัน จำกัด
59/1 ซ.สุขุมวิท 16 (สามมิตร) ถ.สุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพ 10110
เบอร์โทรศัพท์:0-2269-0888 ราคา:20 บาท/12 ขด
2.โครงสร้างหลักของตัวบรรจุสินค้า
บรรจุภัณฑ์ขั้นแรก:กระดาษแข็ง
ขนาด:11.9 x 11.9 x 12 เซ็นติเมตร
สีที่ใช้ในวัสดุบรรจุ:สีม่วง สีน้ำเงิน สีแดง สีขาว สีเขียว ดำ และสีเหลือง
การขึ้นรูปทรง:แบบกล่องสี่เหลี่มจัตุรัส
ระบบการพิมพ์ที่ใช้:ระบบการพิมพ์แบพบพื้
สี/จำนวนสีที่พิมพ์:7 สี
3.การออกแบบกราฟิก
ภาพประกอบ:ภาพประกอบที่ใช้หลักเป็นรูปขดยากันยุงเพิ่มแสงเงารอบให้มีมิติ เหมือนลอยได้
แทรกกับดอกลาเวนเดอร์ที่บอกถึงลักษณะ กลิ่นที่ใช้ ผสมออกมาเป็นยากันยุงกลิ่นลาเวนเดอร์
ลวดลาย:ลวดลายรอบกล่อง ประกอบด้วยลายกราฟิกรูปภาพและตัวอักษร
โลโก้สินค้า:ใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ  
การวิเคาะห์ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ไบกอน ยาจุดกันยุงกลิ่นลาเวนเดอร์
1.ด้านหน้ากล่องประกอบด้วย
1.1โลโก้สินค้า  1.2ชื่อผลิตภัณฑ์/Product name:ใบกอน                                                       
1.3ภาพประกอบสามารถรับรู้ถึงประสิทธิภาพที่นำไปใช้ และประโยชน์. 1.4คำอธิบายใต้ภาพ 
1.5จำนวนที่บรรจุมา/1 กล่อง
1.6ภาพประกอบดอกลาเวนเดอร์ ที่นำมาสกัดออกมาเป็นกลิ่นเป็นส่วนผสมในการทำยากันยุง
1.7ภาชนะบรรจุ/Container:ทำมาจากกระดาษ 1.8ภาพตัวอย่าง 1.9ประโยชน์ 1.10.ชื่อผู้นำเข้า และจัดจำหน่าย
2.ด้านหลังกล่องประกอบด้วย
2.1ประโยช์ใช้จุดป้องกันยุง
2.2วิธีใช้ที่ถูกต้อง
2.3คำเตือน ห้ามทำหรือสิ่งที่เป็นอันตรายที่เกิดขึ้นได้
2.4คำอธิบายวิธีรักษาเบื้องต้น หากเกิดอันตราย
2.5ผู้ผลิต:พีที. อินทิ คิมิอะทะมะ เพอคาซา
PT. INTI KIMIATAMA PERKASA, ประเทศอินโดนีเซีย
2.6นำเข้าและจำหน่ายโดย:บริษัท เอส.ซี.ยอห์นสัน แอนด์ ซัน จำกัด 59/1 ซ.สุขุมวิท 16 (สามมิตร) ถ.สุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพ 10
11เบอร์โทรศัพท์:0-2269-08880 2.7วัน เดือน ปี/ครั้งที่ผลิต 2.8เครื่องหมายมาตราฐานบังคับ
2.9ปริมาณที่บรรจุ/น้ำหนัก 2.10บาร์โค้ดสินค้า 2.11เบอร์สอบถามข้อมูลสินค้า 2.12เครื่องหมาย อย.
3.ด้านข้างกล่องประกอบด้วย
ชื่อผลิตภัณฑ์/Product name:ใบกอน ใช้ฟ้อนตสีขาวตัดพื้นแดงดูเด่น
ส่วนใหญ่จะใช้ไม่กี่สี สีหลัก คือ สีม่วง ขาว เหลือง เขียวส่วนน้อบที่ใช้สีม่วงเป็นหลักคือสีของดอกลาเวนเดอร์ที่มีความหมายที่นำมาสกัดเป็นตัวสินค้าหลักที่ให้ความสำคัญเป็นหลัก คำอธิบายคุณประโยชน์ก็จะเน้นป้องกันยุงมีกลิ่น สี ที่สกัดจากดอกลาเวนเดอร์
4.ด้านข้างกล่องประกอบด้วย
หัวข้อหลักอธิบายวิธีใช้ที่ถูกต้อง ว่าควรนำไปใช้ในสถานที่ใดเหมาะสม ห้ามวางใกล้กับวัตถุไวไฟ ใกล้เด็ก พร้อมภาพประกอบการใช้สามารถสื่อออกมาให้รู้ว่ายากันยุงมีลักษณะแบนไม่ควรวางราบกับพื้น สีของตัวสินค้าเป็นสีม่วงเป็นลักษณะ สีของดอกลาเวนเดอร์  ฟ้อนตที่ใช้มีความเรียบง่าย อ่านเข้าใช้ชัดเจน สีใช้แค่สีเหลืองเป็นหัวข้อหลักส่วนสีขาวเป็นคำอธิบายเพื่อให้อ่านได้ชัดเจนตัดกับสีพื้นหลังสีน้ำเงิน
           

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 2 วันที่ 20 มิ.ย 56

สมัครเรียนในระบบ http://chandraonline.chandra.ac.th/
เข้าสมัครเรียนในวิชาARTD 3302 เข้ากลุ่ม 201รหัสวิชา ARTD3302 ชื่อรายวิชา การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ Graphic Design for Packaging หน่วยกิต 3(2-2-5)ศึกษาและฝึกปฏิบัติตามความรู้ ทักษะที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎี หลักการ ขั้นตอน วิธีการดำเนินการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานกราฟิกเพื่อการสื่อสาร การสื่อความหมายหรือการตกแต่ง ร่วมใช้กับโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการผลิตผลิตภัณฑ์สินค้า เทคโนโลยีการผลิตและการบรรจุ เทคโนโลยีทางการพิมพ์ ระบบการขนส่ง ข้อกำหนดกฏหมายทางสังคม สิ่งแวดล้อม และหน้าที่ทางการตลาดผู้สอน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประชิด ทิณบุตรทำแบบทดสอบ ทักษะด้านความรู้เรื่องการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ช่วยในด้านการเสริมความรู้ใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้ ทักษะคำภาษาอังกฤษ ว่ามีความหมายตรงตามข้อใด*ชี้แนะ การเรียนรู้ในการวิจัยการออกแบบบรรจุภัณฑ์


ตัวอย่าง โครงการวิจัยการออกแบบข้าวเกรียบสายรุ่ง ที่ทำจากพืช ผัก สวนครัว เช่น ดอกอันชัน เพื่อให้ตัวสินค้ามีความแปลกตา และมีสีสันน่ารับประทาน ช่วยเพื่มมูลค่าให้สินค่าได้อย่างหนึ่ง- ถ่ายรูปตัวบรรจุภัณฑ์ที่นักศึกษาเตรียมมา ถ่ายทั้งด้าน ด้านหลัง และด้านข้าง แล้ววิเคาะห์ตามความเข้าใจว่าเราเห็นสิ่งใดบนบรรจุภัณฑ์บ้าง ทั้งเรื่องการใช้สี ฟ้อนท์ โลโก้ หรือคำอธิบายต่างๆ อธิบายอย่างละเอียด- เตรียมการสำรวจสินค้าในเขตพื้นที่ ซ.เสือใหญ่ หรือบริเวณรั้วมหาวิทยาลัย เสนอชื่องานการออกแบบพัฒนาการผลิตและบรรจุภัณฑ์ อาจเป็นผู้ผลิตรายย่อย สอบถาม หาโจทย์ และพัฒนาแบบ


วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แหล่งเรียนรู้-ศึกษาและร่วมแบ่งปันข่าวสารWaldo Trommler Paints

Waldo Trommler Paints
The brightest brand of paints
Objective In 2011 Reynolds and Reyner finished two huge projects redesigning international brands of paints. After that they were asked to develop a new visual identity for a small Finnish company which was planning to enter the U.S. market. Without the past, unlike the majority of existing brands in the segment, but believing in the future, the key to access the market was a package design. "We don't just need - we must! stand out" - this phrase has become the basis at work on a new brand identity.
Process How to create a brand that stands out? We need to find the design solution that hasn't been used by any of the competitors. At the same time showing the main features of the company - friendliness, quality and innovation. WTP is not just a manufacturer of paints - it's an assistant, always ready to help, suggest and defend from the hassles and problems. Repairs with WTP is simple, convenient and fast and this is what in it's simple design.Results No doubt, WTP is the most friendly and remarkable brand of paints on the shelf now. WTP has no corporate colors - it have the corporate identity, common for each design element - from business cards to packaging. Every item is bright and memorable combination of colors and objects that all together form whole the entire brand. The next step is to prove that the product is as high quality as its outer shell. But this is another story.


สี Trommler วัลโด แบรนด์ที่มีความสว่างของสี
วัตถุประสงค์ในปี 2011 Reynolds และ Reyner เสร็จสองโครงการขนาดใหญ่ที่ปรับเปลี่ยนการออกแบบแบรนด์ต่างประเทศของสี หลังจากที่พวกเขาถูกถามในการพัฒนาอัตลักษณ์ใหม่สำหรับ บริษัท ฟินแลนด์เล็ก ๆ ที่กำลังวางแผนที่จะเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกา โดยไม่ต้องผ่านมาซึ่งแตกต่างจากส่วนใหญ่ของแบรนด์ที่มีอยู่ในส่วน แต่เชื่อว่าในอนาคตที่สำคัญในการเข้าถึงตลาดที่ถูกออกแบบแพคเกจ ได้กลายเป็นพื้นฐานในการทำงานเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของแบรนด์ใหม่
กระบวนการวิธีการสร้างแบรนด์ที่ยืนออก? เราต้องการที่จะหาวิธีแก้ปัญหาการออกแบบที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้โดยใด ๆ ของคู่แข่ง ในเวลาเดียวกันที่แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติหลักของ บริษัท - เป็นมิตรที่มีคุณภาพและนวัตกรรม WTP ไม่ได้เป็นเพียงผู้ผลิตของสี - มันช่วยเสมอพร้อมที่จะช่วยแนะนำและปกป้องจากความยุ่งยากและปัญหา การซ่อมแซมด้วย WTP คือง่ายสะดวกและรวดเร็วและนี่คือสิ่งที่อยู่ในการออกแบบที่เรียบง่ายของมัน ผลสงสัยไม่เต็มใจที่จะจ่ายเป็นแบรนด์ที่เป็นมิตรที่สุดและโดดเด่นของสีบนหิ้งในขณะนี้ WTP มีสีองค์กรไม่ - มันมีเอกลักษณ์องค์กรร่วมกันสำหรับแต่ละองค์ประกอบของการออกแบบ - จากนามบัตรกับบรรจุภัณฑ์ ทุกรายการเป็นชุดที่สดใสและน่าจดจำของสีและวัตถุที่มีทั้งหมดเข้าด้วยกันในรูปแบบทั้งแบรนด์ทั้งหมดขั้นตอนต่อไปคือการพิสูจน์ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงที่สุดเท่าที่เป็นเปลือกนอก
อ้างอิงจาก:http://www.behance.net/gallery/Waldo-Trommler-Paints/4271847


วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่1 วันที่13มิ.ย 56

- ผลงานที่ร่วมเป็น book มีทั้งไทยและต่างประเทศเป็นแนวทางการเรียนการสอนที่รวมอยู่ในhttp://www.issuu.com/  อาทิ เช่น การออกแบบหนังสือนิตยสาร เกี่ยวกับ เสื้อผ้า
การตกปลา แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว และอื่นๆ ช่วยเป็นแนวคิด
สร้างสรรค์ ผลงานของตนเองได้
- หาข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ และแปลกใหม่ เกี่ยวกับวิชาการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ใส่ไว้ในhttps://docs.google.com/spreadsheet/ccc?key=0AgdpUNs1N1FgdGJYWGZmUkMxTGg0b3JpcVcwV2tNY0E#gid=0สัปดาห์ละ 1 หัวข้อ- การตั้งค่ารูปแบบของTemplateโดยจะเลือกPicture window template ที่เลือกใช้อันแรก- ตั้งAdjust 980/330 px.- เลือกใช้ Font Arial ขนาด16 px.สัปดาห์หน้าเตรียมบรรจุภัณฑ์ "สินค้ามาตราฐาน" มา 1 อย่าง

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กิจกรรมสืบค้นความรู้เป็นการบ้าน

กิจกรรมสืบค้นความรู้เป็นการบ้านวันนี้ให้สืบค้นความหมายของคำว่า

1.การออกแบบกราฟิก(Graphic Design)

 1.1การออกแบบกราฟิก(Graphic Design) คำว่า กราฟฟิก (Graphic) นั้นมีที่มาจากภาษากรีก 2 คำด้วยกันคือ1. Graphikos หมายถึง การวาดเขียน 2. Graphein หมายถึง การเขียน มีคนที่ให้ความหมายหรือคำจำกัดความของคำว่า "กราฟฟิก" ไว้มากมายหลายแบบด้วยกัน แต่หลักๆก็มีดังนี้

- กราฟฟิกเป็นศิลปะแบบหนึ่งที่แสดงออกถึงความคิดอ่านและอารมณ์โดยใช้เส้น รูปภาพ ภาพเขียนหยาบๆ ไดอะแกรม ฯลฯ

- กราฟฟิกเป็นการสื่อความหมายด้านการใช้ภาพวาด ภาพสเกต แผนภาพ การถ่ายภาพ และอื่นๆ ที่ต้องอาศัยศิลปะ เข้ามาช่วยเพื่อทำให้ผู้ดูเกิดความคิดและการตีความหมายได้ตรงตามที่ผู้ส่งสารต้องการ เช่น  ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น

- กราฟฟิกเป็นศิลปะหรือศาสตร์ในการเขียนภาพลายเส้น รวมไปถึงการพิมพ์  การถ่ายภาพ และการจัดทำหนังสือ


อ้างอิงจาก:http://iamthaigraphic.blogspot.com/2012/07/graphic-2-1.html

1.2การออกแบบกราฟิก(Graphic Design)

  ความหมายของการออกแบบกราฟิกเป็นลักษณะของการออกแบบพื้นผิว 2 มิติ  เพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับการถ่ายทอดข้อความ ความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์ จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งเพื่อให้เข้าใจและรู้เรื่องโดยใช้ประสาทตาในการรับรู้เป็นส่วนใหญ่

งานกราฟิกเป็นงานการวางแผนทางศิลปะและการทำหัวเรื่อง โดยรู้ขนาดและสัดส่วนหลักในการออกแบบ รวมถึงการใช้สีเป็นองค์ประกอบเพื่อเน้นและดึงดูดความสนใจให้มากขึ้น และเป็นการช่วยให้ได้รายละเอียดชัดเจนของวัสดุที่ใช้ประกอบการสอน และยังมีความหมายรวมไปถึงการผนึกภาพ ภาพถ่าย รูปถ่าย อีกด้วย  งานกราฟิกยังเป็น งานที่มีความเกี่ยวพันกับงานอื่น ๆ อีก ได้แก่การประชาสัมพันธ์ ถือได้ว่างานกราฟิกนี้เป็นงานที่ควบคู่ไปกับงานบริหาร เพราะเนื้อหาของการประชาสัมพันธ์ที่ออกไปนั้น หากไม่ดึงดูดความสนใจที่ดีแล้วย่อมไม่สามารถที่จะสื่อความหมายกันระหว่าผู้ชมกับฝ่ายองค์กรได้ เช่น- งานโทรทัศน์ กราฟิก

จะเกี่ยวข้องในส่วนที่เป็นหัวเรื่อง(title)สไลด์ ฯลฯ

- งานจัดฉากละคร เช่นการจัดฉากในรูปแบบต่าง ๆ การออกแบบตัวหนังสือ

- งานหนังสือพิมพ์ วารสารนิยมใช้สัญลักษณ์ทางการฟิกกันมากเพราะสัญลักษณ์เหล่านี้ทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย

- งานออกแบบ หรือแบบร่าง เช่นออกแบบบ้าน

- การออกแบบหนังสือ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่าง ๆ

ความสำคัญของการออกแบบกราฟิก

1. ช่วยสร้างสรรค์งานสัญลักษณ์ทางสังคม เพื่อการสื่อความหมายร่วมกัน

2. ช่วยพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3. ช่วยให้เกิดจินตภาพ เกิดมีแนวคิดสิ่งใหม่อยู่เสมอ

4. ส่งเสริมให้เกิดค่านิยมทางความงาม

5.การออกแบบที่ดีต้องทำให้ข้อมูลที่กระจัดกระจายมีระเบียบมากขึ้น

อ้างอิงจาก:http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~schutcha/graphic/Gtext03.htm

1.3การออกแบบกราฟิก(Graphic Design)

  ปากกา พู่กัน กราฟิกดีไซน์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ graphic design คำว่า graphic มีคำในภาษาไทยที่ใช้แทนได้คือ เรขศิลป์, เลขนศิลป์ หรือ เรขคำว่า กราฟิก (Graphic) หรือที่ภาษาไทยบางส่วนนิยมเขียนว่า กราฟฟิก เป็นภาษากรีก มาจากคำว่า Graphikos ที่หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและภาพขาวดำ และคำว่า  Graphein มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น หากรวมทั้งคำว่า Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกัน กราฟฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และข้อความตัวอักษร และภาพโฆษณา สามารถใช้เป็นกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้ กราฟิกทางการศึกษา เป็นสื่อการสอนที่สื่อถึงเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้เส้น ภาพวาดและสัญลักษณ์ ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง แทนคำพูดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของแผนที่ แผนภาพ ภาพโฆษณา การ์ตูน และแผนสถิติ ฯลฯ และมีหน้าที่สื่อความหมายจากสัญลักษณ์สู่ความหมาย เช่นเดียวกับ ดินสอ ภาพ ส่วน design แปลว่า การออกแบบ เมื่อรวมกันแล้ว กราฟิกดีไซน์จึงมีหมายความว่า การออกแบบเรขศิลป์

ตัวอย่าง นิยามของMassimo Vignelli นักออกแบบชาวอิตาลีได้ให้ความเห็นว่า ” กราฟฟิกดีไซน์เปรียบเสมือนกับการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ” โดยประกอบไปด้วยเรื่องต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงความหมายให้ถูกต้อง, การจัดการกับประโยค หรือข้อความที่สอดคล้องกัน และการจัดการกับส่วนที่มีความหมายยุ่งยากต่อการทำความเข้าใจ ให้เข้าใจได้อย่างง่ายดาย”  

อ้างอิงจาก:http://graphics.in.th/what-is-graphic/

สรุป1.การออกแบบกราฟิก(Graphic Design)คือการสื่อความหมายโดยการวาด เขียน การถ่ายภาพ โดยใช้อารมณ์ร่วมในการคิดส้างสรรค์งานให้ผู้อื่นได้รับรู้ ถ่ายทอดออกมา ใช้แทนคำพูด ล้วนเป็นศฺิลปะทั้งสิ้น

2.การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)

 2.1การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)ความหมายของการบรรจุภัณฑ์ (Packaging)

การบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการตลาด โดยเฉพาะปัจจุบันที่การผลิตสินค้า หรือบริการได้เน้นหรือให้ความสำคัญกับผู้บริโภค  และจะได้เห็นว่าการบรรจุภัณฑ์มีบทบาทมากขึ้นเพราะลำพังตัวสินค้าเองไม่มีนวัตกรรม (Innvoation) หรือการพัฒนาอะไรใหม่อีกแล้ว ฉีกแนวไม่ออกเพราะได้มีการวิจัยพัฒนากันมานานจนถึงขั้นสุดยอดแล้ว จึงต้องมาเน้นกันที่บรรจุภัณฑ์กับการบรรจุหีบห่อ (Packaging) บรรจุภัณฑ์กับหีบห่อ (Package) ถือว่าเป็นคำคำเดียวกัน ทั้งนี้สุดแล้วแต่ผู้ใดประสงค์หรือชอบที่จะใช้คำใด

ความหมายของการบรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ (Packaging) ได้ยกตัวอย่างมา 3 ความหมายดังนี้

1. Packaging หมายถึง งานเทคนิคที่ต้องอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ ในอันที่จะออกแบบและผลิตหีบห่อให้มีความเหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตขึ้นมา ให้ความคุ้มครองสินค้า ห่อหุ้มสินค้าตลอดจนประโยชน์ใช้สอย อาทิเช่น ความสะดวกสบายในการหอบหิ้ว พกพาหรือการใช้ เป็นต้น

2. Packaging หมายถึง กลุ่มของกิจกรรมในการวางแผนเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิตภาชนะบรรจุหรือสิ่งหุ้มห่อสินค้าบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับฉลาก (Label) และตรายี่ห้อ (Brand name)

3. Packaging หมายถึง การใช้เทคโนโลยีและเศรษฐศาสตร์เพื่อหาวิธีการรักษาสภาพเดิมของสินค้าจนกว่าจะถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย เพื่อให้ยอดขายมากที่สุดและต้นทุนต่ำสุด

อ้างอิงจาก:http://www.mew6.com/composer/package/package_0.php

2.2การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)

 ความหมายของ “ หีบห่อ ” “ บรรจุภัณฑ์ ” หรือ “ ภาชนะบรรจุ ” (Package) มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1. Package หมายถึง สิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งภาชนะที่ใช้เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์จากแหล่งผู้ผลิตไปยังแหล่งผู้ บริโภค หรือแหล่งใช้ประโยชน์ หรือวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการป้องกันหรือรักษาผลิตภัณฑ์ ให้คงสภาพตลอดจนคุณภาพใกล้เคียงกันกับเมื่อแรกผลิตให้มากที่สุด

2. Package หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่รองรับหรือหุ้มผลิตภัณฑ์ เพื่อทำหน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์จากความเสียหายต่าง ๆ ช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการขนส่งและการเก็บรักษา ช่วยกระตุ้นการซื้อตลอดจนแจ้งรายละเอียดของผลิตภัณฑ์

นอกจากนี้ยังมีคำอีก 2 คำ ที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์ คือ

1. การบรรจุภัณฑ์ (Packing) หมายถึง วิธีการบรรจุผลิตภัณฑ์ โดยการห่อหุ้ม หรือใส่ลงในบรรจุภัณฑ์ปิด หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ปลอดภัย

2. ตู้ขนส่งสินค้า (Container) หมายถึง ตู้ขนาดใหญ่ที่ใช้ขนส่งสินค้า ซึ่งมีขนาดและรูปแบบแตกต่างกันตามวิธีการขนส่ง ( ทางเรือหรือทางอากาศ ) โดยทั่วไปจะมีขนาดมาตรฐานเป็นสากล คำว่า “ Container ” นี้อาจใช้ในความหมายที่ใส่ของเพื่อการขนส่งและจัดจำหน่าย ในปัจจุบัน

เราจึงอาจแบ่งประเภทของบรรจุภัณฑ์ออกได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภท คือ1. บรรจุภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ธรรมชาติได้สร้างหีบห่อขึ้นเพื่อป้องกันและรักษาผลผลิตทางธรรมชาติได้อย่างดีเยี่ยม โดยสร้างให้มีความเหมาะสมกับผลผลิตแต่ละชนิดไป อาทิเช่น เปลือกผลไม้ เปลือกไข่ เป็นต้น2. บรรจุภัณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เกิดจากการที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น โดยได้คิดประดิษฐ์จากวัสดุต่าง ๆ เพื่อสนองประโยชน์นานาประการ เช่น เพื่อคุ้มครองป้องกันผลิตภัณฑ์เพื่อความสะดวกในการขนส่ง เพื่อการส่งเสริมการจำหน่าย ฯลฯ จะเห็นได้จากวิธีการนำเอาวัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้อย่างดียิ่ง เช่น การใช้ใบกล้วย ใบตาล ทางมะพร้าว ใบเตย ฯลฯ มาคิดประดิษฐ์เป็นห่ออาหารแบบต่าง ๆ การจักสานภาชนะต่าง ๆ จากไม้ไผ่ หวาย ต้นหญ้า ปอ ฯลฯ บรรจุภัณฑ์เหล่านี้มีรูปร่างลักษณะสวยงาม แปลกตา และสามารถสนองประโยชน์ได้อย่างดีในแต่ละกรณี เหมาะกับการบรรจุสิ่งของต่าง ๆ เช่น อาหารทั้งที่เป็นของแห้งหรือมีน้ำ หรือสิ่งของที่ต้องการความปลอดภัยและความสะดวกในการเคลื่อนย้ายอื่น ๆ

อ้างอิงจาก:http://webboard.royalmarine.co.th/index.php?page=view&wb_id=31

2.3การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)

คำว่าบรรจุภัณฑ์หมายถึง สินค้าทุกชนิดที่ทำจากวัสดุใดๆ ที่นำมาใช้สำหรับห่อหุ้มป้องกัน ลำเลียง จัดส่ง และนำเสนอสินค้า ตั้งแต่วัตถุดิบถึงสินค้าที่ผ่านการผลิตตั้งแต่ผู้ผลิตถึงผู้ใช้หรือผู้บริโภคPackagingหรือการบรรจุหีบห่อ คือแนวความคิดรวมของระบบในการเตรียมสินค้าเพื่อการจัดจำหน่าย ขนส่ง เพื่อการเก็บรักษาและการตลาด ให้เหมาะสมกับต้นทุนสินค้าและคุณสมบัติของสินค้าปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน ของคนเรามากขึ้น การบรรจุหีบห่อมีความสำคัญมากขึ้นโดยลำดับ เนื่องจากการบรรจุหีบห่อเป็นปัจจัยที่สำคัญในการนำสินค้าจากแหล่งผลิตสู่มือ ผู้บริโภคในคุณภาพซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ วิธีการบรรจุ packing หมายถึง วิธีการบรรจุสินค้า การห่อหุ้ม หรือการใส่ลงในภาชนะปิดใดๆ ก็ได้ หีบห่อ pack คือ การวางผลิตภัณฑ์ในภาชนะบรรจุหรือทำให้เป็นห่อ เป็นมัด

อ้างอิงจาก:http://thaipackaging.blogspot.com/2009/06/blog-post_02.html

สรุป2.การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) คือวัสดุหรือภาชนะที่ห่อหุ้มสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ ที่ใช้กันมาตั้งอดีตจนถึงปัจบัน อดีตมนุษย์จะใช้พวกสิ่งของเหลือใช้มาดัดแปลงเพื่อใส่ของใช้ ของกิน เช่น ใบตอง นำมาใส่ของเพื่อรับประทาน ล้วนแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น จนมาถึงยุคปัจจุบันมนุษย์เริ่มคิดค้นวิธีการประดิษฐ์วัสดุที่เราเรียกกันว่าบรรจุภัณฑ์ขึ้นมาเพื่อความสะดวกสบาย ความแข็งแรง ทนทาน บวกกับความทันสมัย ที่นำไปสู่ผู้ผลิต ผู้บริโภค ให้มีประสิทธิภาพของสินค้า และยังเพิ่มมูลค่าการตลาดที่ดีขึ้นในปัจจุบัน